การรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับแบบอุดกั้นด้วยกล้ามเนื้อถ่างขยายทางเดินหายใจ
โรคหยุดหายใจขณะหลับแบบอุดกั้น (obstructive sleep apnea: OSA) เกิดจากทางเดินหายใจส่วนบนอุดกั้นเป็นระยะๆในขณะหลับ สาเหตุหนึ่งมาจากกล้ามเนื้อถ่างขยายทางเดินหายใจส่วนบนหรือกล้ามเนื้อ genioglossus ไม่สามารถถ่างขยายทางเดินหายใจได้เพียงพอ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาการรักษาวิธีใหม่ๆได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยปรับการทำงานของกล้ามเนื้อนี้ ได้แก่
อ้างอิง
Obstructive sleep apnea: Emerging treatments targeting the genioglossus Muscle
J. Clin. Med. 2019
การผ่าตัดฝั่งเครื่องกระตุ้นที่เส้นประสาท hypoglossal ทั้งสองข้าง รักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (ใหม่)
การผ่าตัดฝั่งเครื่องกระตุ้นที่เส้นประสาททั้งสองข้างเพื่อทำการรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นวิธีใหม่นี้ ทำให้การหายใจติดขัดลดลงจาก 23.7 เป็น 12.9 ครั้งต่อชั่วโมง จากการติตามผลเป็นเวลา 6 เดือนหลังผ่าตัด การนอนกรนลดลง ผู้ป่วยที่เข้าผ่าตัดจำนวน 27 คน อายุเฉลี่ย 55.9 ปี การผ่าตัดทำได้ง่ายมีวิธีการกระตุ้นที่ไม่ซับซ้อนได้ผลใกล้เคียงกับการผ่าตัดกระตุ้นเส้นประสาทข้างเดียวที่มีมาก่อนนี้ การผ่าตัดใหม่วิธีนี้นับได้ว่าน่าสนใจดำเนินการผ่าตัดในศูนย์การผ่าตัดแปดแห่งในประเทศ ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส และ สหราชอาณาจักร ไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายจากการผ่าตัด งานผ่าตัดนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ Eur Respir J ปี 2019(พ.ย.2562)
อ้างอิง
Bilateral Hypoglossal Nerve Stimulation for Treatment of Adult Obstructive Sleep Apnea
Eur Respir J 2019
Background and Aim: Hypoglossal Nerve Stimulation (HNS) decreases Obstructive Sleep Apnea (OSA) severity via genioglossus muscle activation and decreased upper airway collapsibility.This study assessed the safety and effectiveness at 6 months postimplantation of a novel device delivering bilateral HNS via a small implanted electrode activated by a unit worn externally, to treat OSA: the Genio™ system.
Methods: This prospective, open-label, non-randomized, single arm treatment study was conducted at eight centres in three countries (Australia, France, UK). Primary outcomes were incidence of device-related Serious Adverse Events (SAEs) and change in the Apnea-Hypopnea Index (AHI). The secondary outcome was the change in the 4% Oxygen Desaturation Index (ODI). Additional outcomes included measures of sleepiness, quality of life, snoring, and device use. This trial was registered with ClinicalTrials.gov, number NCT03048604.
Results: From 27 implanted participants (63% male, aged 55.9±12.0 years, BMI 27.4±3.0 kg/m2 ), 22 completed the protocol. At 6 months BMI was unchanged (p=0.85), AHI decreased from 23.7±12.2 to 12.9±10.1 events/hr, a mean change of 10.8 events/hr (p<0.001); ODI decreased from 19.1±11.2 to 9.8±6.9 events/hr, a mean change of 9.3 events/hr (p<0.001). Daytime sleepiness (ESS, p=0.01) and sleep-related quality of life (FOSQ-10, p=0.02) both significantly improved. The number of bed partners reporting loud, very intense snoring, or leaving the bedroom due to participant snoring decreased from 96% to 35%. Ninety-one percent of participants reported device use >5 days per week, and 77% reported use for >5 hours per night. No device-related SAE occurred during the 6-months post-implantation period.
Conclusions: Bilateral HNS using the Genio™ system reduces OSA severity and improve quality of life without device related complication. The results are comparable with previously published HNS systems despite minimal implanted components and a simple stimulation algorithm.
การผ่าตัดฝั่งเครื่องกระตุ้นเส้นประสาท hypoglossal ทั้งสองข้าง
A. ทำการผ่าตัดฝั่งเครื่องกระตุ้นบริเวณใต้คางเพื่อกระตุ้นเส้นประสาท hypoglossal ทั้งสองข้าง
B. แผ่นกระตุ้นที่ติดไว้บริเวณผิวหนังด้านนอกส่งกระแสไฟฟ้ากระตุ้นเครื่องที่ฝั่งอยู่ด้านใน
สมาคมโรคนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ
ศูนย์นิทรรักษ์ศิริราช โรงพยาบาลศิริราช เลขที่ 2 ถนนวังหลัง
แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
086-365-6314
info@apnea.or.th